วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

การใช้โปรแกรมตารางคำนวณ Excel 2007


การใช้โปรแกรมตารางคำนวณ Excel 2007
EXCLEเป็นโปรแกรมที่ใช้จัดเก็บข้อมูลในลักษณะของตารางเวิร์กชีต ที่เหมือนสมุดบัญชีเหมาะสำหรับเก็บข้อมูลรายการเกี่ยวกับตัวเลขที่ต้องนำมาคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร หรือ วิเคราะห์ทางด้านสถิติต่างๆ ซึ่งจะมีฟังก์ชั่นการคำนวณสำเร็จรูปให้เลือกใช้มากมาย

คุณสมบัติที่สำคัญของ Microsoft Excel
1.  ความสามารถด้านการคำนวณ Excel สามารถป้อนสูตรการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น 
2. ความสามารถด้านใช้ฟังก์ชั่น  เช่นฟังก์ชั่นเกี่ยวกับตัวอักษร ตัวเลข วันที่ ฟังก์ชั่นเกี่ยวกับการเงิน หรือเกี่ยวกับการตัดสินใจ
3.  ความสามารถในการสร้างกราฟ Excel สามารถนำข้อมูลที่ป้อนลงในตารางมาสร้างเป็นกราฟได้ทันที 
4.  ความสามารถในการตกแต่งตารางข้อมูล Excel สามารถตกแต่งตารางข้อมูลหรือกราฟ ข้อมูลด้วยภาพ สี และรูปแบบตัวอักษรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามและทำให้แยกแยะข้อมูลได้ง่ายขึ้น
5.  ความสามารถในการเรียงลำดับข้อมูล Excel สามารถคัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่ต้องการมาวิเคราะห์ได้
6.  ความสามารถในการพิมพ์งานออกทางเครื่องพิมพ์ Excel สามารถพิมพ์งานทั้งข้อมูลและรูปภาพหรือกราฟออกทางเครื่องพิมพ์ได้ทันที ซึ่งทำให้ง่ายต่อการสร้างรายงาน
7.  ความสามารถในการแปลงข้อมูลในตารางให้เป็นเว็บเพจ เพื่อนำไปแสดงในโฮมเพจ

เข้าสู่การใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel

การเรียกใช้งาน Excel
1.  คลิกที่ปุ่มhttp://www.technonp.ac.th/excel/image/2.JPG 

2.  เลื่อนเมาส์ไปชี้คำสั่ง All program 

3.  เลื่อนเมาส์ไปที่ Microsoft office

4.  เลื่อนเมาส์ไปที่Microsoft office Excel คลิก

ประโยชน์จาก EXCEL
·       สามารถคำนวณข้อมูลในตารางได้อย่างแม่นยำ
·       สามารถสร้างกราฟแบบต่างๆ ได้
·       สามารถตกแต่งตารางข้อมูลด้วยสีสัน และรูปภาพ
·       สามารถเรียงลำดับข้อมูลตามตัวอักษรหรือตัวเลขได้
·       มีระบบจัดการข้อมูลแบบอัตโนมัติหลายอย่าง
·       สามารถแปลงข้อมูลเป็นเว็บเพจ

เครื่องหมายในการคำนวณ

เครื่องหมายที่มีลำดับความสำคัญเดียวกันจะมีการคำนวณ จากซ้ายไปขวา
                พิมพ์สูตรคำนวณ ใน Microsoft Excel  = (4/2)+10/2*3
                จะเรียงลำดับการคำนวณดังนี้
                = 2+10/2*3
                = 2+5*3
                = 2+15
                = 17
                 
ใน Microsoft Excel นั้น เครื่องหมายต่าง ๆ ของการคำนวณนั้น จะมีลำดับ
ที่แตกต่างกันโดย Microsoft Excel จะทำการคำนวณให้ตามลำดับ แต่เราจำเป็นต้องมีความเข้าใจในแต่ละลำดับนั้น ๆ 

โดยเครื่องหมาย คูณ (*) และ หาร (/) จะทำก่อน

ซึ่งลำดับจะเป็นดังนี้
·        ทำในวงเล็บก่อน
·        เครื่องหมาย %
·        เครื่องหมาย ติดลบ
·        เครื่องหมาย ยกกำลัง (^)
·        เครื่องหมาย คูณ (*) หาร (/)
·        เครื่องหมาย บวก (+) ลบ (-)

*ในข้อนี้คำตอบของ โจทย์ที่ว่า 18 / 6 x (4-1) ตอบว่า 1 หรือ 9 นั้น ก็ต้อง คำนวณ ในวงเล็บก่อน คือได้ 18 / 6 x 3 แล้วทำตามลำดับ จะได้ 3 x 3 ผลลัพธ์ คือ 9 ครับ

ฟังก์ชัน คือสูตรที่มีการกำหนดไว้แล้วเพื่อทำการคำนวณโดยใช้ค่าเฉพาะที่เรียกว่าอาร์กิวเมนต์ในลำดับเฉพาะหรือโครงสร้าง ฟังก์ชันสามารถใช้ทำการคำนวณง่ายๆ หรือซับซ้อนได้ ตัวอย่างเช่น ฟังก์ชัน ROUND ปัดเศษจำนวนในเซลล์ A10

ส่วนประกอบ
แถบชื่อเรื่อง (Title bar)   ใช้สำหรับแสดงชื่อโปรแกรม และชื่อแฟ้มที่กำลังใช้งานอยู่ เช่น ชื่ือโปรแกรม Microsoft Excel 
ชื่อแฟ้มงานคือ Book1
แถบเมนู (Menu bar) เป็นที่รวบรวมคำสั่งการใช้งานโปรแกรม Excel ทั้งหมด
แถบเครื่องมือ (Tool bar)  เป็นการนำเอาคำสั่งที่ใช้บ่อยๆ  มาสร้างเป็นปุ่ม เพื่อให้สะดวกต่อการเรียกใช้งา


แถบสูตร (Formula Bar) และแถบสถานะ (Status Bar) เป็นองค์ประกอบชิ้นเล็กของจอภาพการทำงาน ซึ่งผู้ใช้มักจะละเลยไม่สนใจต่อ องค์ประกอบ 2 ชิ้นนี้ แต่หลักการใช้งานที่ถูกต้ององค์ประกอบ 2 ชิ้นนี้มีความสำคัญมาก โดยแถบสูตร จะเป็นแถวที่แสดงข้อมูลจริง 
ณ ตำแหน่งเซลล์ใด ๆ ขณะที่แถบสถานะ จะเป็นแถวที่แสดงข้อความที่จำเป็นต่างๆ ขณะกำลังใช้งานโปรแกรมอยู่ แถบสูตรและ แถบสถานะสามารถควบคุมให้แสดง หรือไม่ให้แสดง ได้โดย การเลือกคำสั่ง

พื้นที่ทำงาน (Sheet)
พื้นที่ทำงานของ Microsoft Excel เรียกว่า Worksheet หรือ Sheet โดยใน 1 Sheet จะประกอบด้วยบรรทัดในแนวตั้งและบรรทัดในแนวนอน ซึ่งมีการเรียกชื่อเฉพาะ ดังนี้
·       มีแถวทั้งหมด 1,048,576 แถว(แนวนอน)
·       มีคอลัมน์ 16,384 คอลัมน์(แนวตั้ง)
ประโยชน์ของโปรแกรมตารางการทำงาน

·       เหมาะกับงานคำนวณประเภทต่างๆ เช่น เลขทั่วๆ ไป, ค่าทางสถิติ, เลขตรีโกณฯ, ค่าทางการเงิน, คำนวณเกี่ยวกับวันที่
·       ระบบคำสั่งเป็นมาตรฐานเดียวกับโปรแกรมอื่นในตระกูลเดียวกัน ทำให้สามารถเรียนรู้โปรแกรมอื่นๆ ได้โดยอ้างอิงกับโปรแกรม Microsoft Excel ชุดนี้ หรือผู้ใช้ที่ศึกษาโปรแกรมอื่นมาแล้ว ก็สามารถใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel ได้สะดวก
·       ระบบคำสั่งมีหลากหลายให้เลือกใช้งาน ทั้งแบบเมนูคำสั่ง, ปุ่มลัด, ไอคอนในแถบเครื่องมือ (Toolbars), เมนูจากการ Click เมาส์ขวา
·       การ Click ขวา จะเรียกเมนูคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานให้โดยอัตโนมัติ
·       ระบบเมนูคำสั่งมีให้เลือกทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
·       จัดการกับข้อมูลภาษาไทยได้ถูกต้องการหลักพจนานุกรมไทย
·       สามารถเติมข้อมูลลำดับ ได้โดยอัตโนมัติ (Auto Fill)
·       ช่วยสร้างสูตรคำนวณได้ง่าย และรวดเร็วดั่งเนรมิต ด้วยความสามารถ Function Wizard ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาจดจำรูปแบบการใช้สูตรคำนวณแบบต่าง ๆ
·       สร้างกราฟ และแก้ไข-ปรับปรุงได้อย่างรวดเร็ว ด้วย Chart Wizard ทำให้สามารถเนรมิตกราฟได้หลากหลายรูปแบบ เช่น กราฟเส้น, กราฟแท่ง, กราฟวงกลม, กราฟพื้นที่ ทั้งในลักษณะภาพ 2 มิติ และภาพ 3 มิติ



เทคนิคในการใช้เอ็กเซล
* กด F5 สามารถพิมพ์ไปยังตำแหน่งอ้างอิงเซลล์ได้
*การเอาเส้นตารางออก ไปที่ เมนูเค้าโครงหน้ากระดาษ / page layout    เครื่องหมายถูก ในช่อง view ที่ gridlines ออก 
*การใช้สูตรสำหรับค่าคงที่ Absolute โดยการกด F4 เพื่อล็อคแถวและล็อคคอลัม
*& เป็นตัวใช้เชื่อมข้อความในแต่และเซลล์ให้ติดกัน ถ้าจะให้ข้อความที่ออกมาเว้นวรรค ต้องใส่ “  “ ด้วย
                    เช่น   A1&A2&A3 เป็น ฉันรักเธอ   แต่ถ้า A1&”  “&A2&”  “&A3 จะเป็น ฉัน รัก เธอ
*การทำที่เปลี่ยนภาษา เข้า data ไปที่ data validation เลือก list พิมพ์ ไทย, English
Select Language
English
=IF(I2="ไทย","เลือกภาษา","Select Language")















ฟังก์ชั่นพื้นฐาน

·        SUM  ใช้หาผลรวมของข้อมูล
·        Average  ใช้หาค่าเฉลี่ย
·        Count  ใช้นับจำนวนข้อมูล
·        Max  หาข้อมูลที่มีค่ามากสุด
·        Min หาข้อมูลที่มีค่าน้อยสุด
·        Round ใช้ปัดเศษทศนิยมถ้ามากกว่า 5 ปัดขึ้น น้อยกว่า 5 ปัดลง
·        Floor  ปัดเศษทศนิยมทิ้งทั้งหมด
·        Rank  ใช้หาข้อมูลที่มีว่าอยู่ลำดับเท่าไหร่
·        IF   ใช้ตรวจสอบเงื่อนไข
·        And  ใช้เปรียบเทียบจะขึ้น true เมื่อเป็นจริงทั้งคู่ ขึ้น false เมื่ออีกอันเป็นเท็จ
·        Or  ใช้เปรียบเทียบ จะขึ้น true เมื่ออันหนึ่งเป็นจริง จะขึ้น false เมื่อเป็นเท็จทั้งคู่

คะแนนรวม
555
 =SUM(M6:M16)
คะแนนเฉลี่ย
69.9
 =AVERAGE(M6:M15)
คะแนนสูงสุด
70
 =MAX(M6:M15)
คะแนนต่ำสุด
29
 =MIN(M6:M15)
ค่าประมาณของคะแนนเฉลี่ย (ปัดขึ้น)
40
 =ROUND(M18,0)
ค่าประมาณของคะแนนเฉลี่ย (ปัดลง)
37
 =FLOOR(M18,1)

จำนวนผู้เข้าแข่งวิ่งทั้งหมด
10
 =COUNT(M6:M15)
จำนวนนักกีฬาที่วิ่งชนะ
7
 =COUNTIF(N6:N15,"ชนะ")
จำนวนนักกีฬาที่วิ่งแพ้
3
 =COUNTIF(N6:N15,"แพ้")
จำนวนนักกีฬาที่วิ่งได้ที่หนึ่งได้เกรดA
3
 =COUNTIF(O6:O15,"A")
ผู้ที่ใช้เวลาวิ่ง 29 นาทีได้ลำดับที่เท่าไร
9
 =RANK(29,M6:M15)
หมายเหตุ COUNT คลุมทั้งหมดช่องใดช่องหนึ่งเพื่อดูจำนวน
COUNTIF คลุมช่องผลลัพธ์ที่คำนวณได้ (ถ้าเกี่ยวกับช่องไหนก็คลุมช่องนั้น เช่น จำนวนนักกีฬาที่วิ่งชนะ ก็คลุมช่องผลที่คำนวณออกมา แพ้ ชนะ)
RANK คลุมแบบเดี่ยวกับ count




ฟังก์ชั่นเกี่ยวกับวันที่และเวลา (Date & Time)

รูปแบบ=TODAY()    พิมพ์เลขวันที่ใส่ไปเลยใน() 31/01/2013
                                                        จากนั่นก็จัดรูปแบบว่าจะทำวันที่เป็น  แบบไหน
                             Today จะแสดงงเฉพาะวันที่เท่านั้น
=TODAY()                        Now จะแสดงทั้งวันที่และเวลา
31 มกราคม 2013

=TODAY()+1
1 กุมภาพันธ์ 2013

=TODAY()-1
30 มกราคม 2013

รูปแบบ=NOW()          ลักษณะเหมือนรูปแบบ=TODAY()          

ฟังก์ชั่น DATE
year
ตัวเลขปี ค.. สามารถกาหนดได้ตั้งแต่ 1 หลัก ถึง 4 หลัก ถ้ากาหนดเลขปี
น้อยกว่า 4 หลัก และระบบวันที่เป็นแบบ 1900 เช่น กาหนดตัวเลข year คือ 30
จะได้ปี ค.. เท่ากับ 1930
month
ตัวเลขแสดงลาดับของเดือน มีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 12 เช่น 1, 2, 3 หมายถึง
เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม ตามลาดับ ถ้าตัวเลขมากกว่า 12 (ธันวาคม)
Excel จะนามาหารด้วย 12 เศษที่เหลือจะหมายถึงลาดับที่ของเดือนในปีถัดไป
เช่น ถ้า month = 15 เศษที่ได้จากการหารด้วย 12 คือ 3 ซึ่งหมายถึงเดือนมีนาคม
ของปีถัดไป
day
ตัวเลขแสดงวันที่ใน 1 เดือน ถ้ามีค่ามากกว่าวันที่สุดท้ายของเดือนนั้น
Excel จะนาจานวนวันที่เกินมาเป็นวันที่ของเดือนถั

รูปแบบ = DATE(ปี,เดือน,วัน)
=date (2006,2,15)   จะได้   15 กุมภาพันธ์ 2006 (เหมือนๆTime จะคลิกที่ช่องก็ได้ )




ฟังก์ชั่น TIME

รูปแบบ =TIME(hour,minute,second)

Hour ชม
10
Minute นาที
18
Secornd วินาที
37
                                                                          
=time(7,15,25)   จะได้  7:15:25 AM                            
=time(8,70,0)   จะได้  9:10:00 AM                    กำหนดเอง และทำการจัดรูแบบเหมือนเดิม

=TIME(E28,E29,E30)  จะได้  10:18:37 AM            คลิกในช่องที่กำหนดไว้ เช่น ช่อง 10 ชม.
                                                                                          คือ E28 ก็คลิกE28

ฟังก์ชั่นตรรกศาสตร์

ฟังก์ชั่น AND (จะเป็น FALSE แค่ตัวใดตัวหนึ่งก็จะเป็น FALSE แล้ว)
=AND(TRUE,FALSE)       = FALSE
=AND(TRUE,TRUE)         = TRUE

=AND(D28=15,D29="SAMPLE")      = TRUE (ต้องดูด้วยว่า D28 กับ D29 เป็นจริงหรือเท็จ)

ฟังก์ชั่น OR (จะเป็น FALSE เมื่อมีFALSE ทั้ง 2 ตัว)
=OR(TRUE,FALSE)      = FALSE  รูปแบบเหมือน and

โบนัสพิเศษ
ไม่ได้รับ
ไม่ได้รับ
ได้รับ
=IF(OR((C57>5),D57>300000),"ได้รับ","ไม่ได้รับ")ไม่ได้รับ

ฟังก์ชั่น IF
=IF(ค่าที่ได้เมือ่เงื่อนไขเป็นจริง,ค่าที่ได้เมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ)
ถ้าจำกัดให้ซื้อน้ำมันพืชได้แค่ 25 ขวด
=IF(B5=25,"ซื้อได้","ซื้อไม่ได้") ผลลัพธ์ คือ ซื้อไม่ได้
=IF(AND((D38>=60),(E38>=60)),"ผ่าน","ไม่ผ่าน")
=IF(OR((C54>5),D54>300000),"ได้รับ","ไม่ได้รับ")


ฟังก์ชั่น =NOT
=NOT(TRUE)    ผลที่ได้ จะตรงกันข้าม คือ FALSE


ฟังก์ชั่นข้อความ

รูปแบบ Bahttext (Number)
       
               ="***"&BAHTTEXT(B7)&"***"     
               ="("&BAHTTEXT(B7)&")"    

 ฟังก์ชั่นสำหรับการค้นหา


CHOOSE เช่นใน1เดือน กินผลไม้อะไรบ้าง                               

รูปแบบ = CHOOSE(สิ่งที่ต้องการเลือกมาหนึ่งอย่างไม่ล็อคอะไรเลย,ผลไม้ที่มีให้เลือกล็อคทั้งแถวและคอลัมน์,…..,……)

=CHOOSE(F5,$C$4,$C$5,$C$6,$C$7,$C$8,$C$9,$C$10)





LOOKUP เช่น สิ่งที่เราเลือกซื้อ เลือกอ่าน เป็นยี่ห้อใดบ้าง
       = LOOKUP(สิ่งที่เราต้องการเลือกดูหนึ่งอย่างไม่ล็อค,สิ่งที่เลือกซื้อเลือกอ่านทั้งหมดลากคลุมและไม่ล็อค, ยี่หอทั้งหมดจากสิ่งที่เลือกลากคลุมและไม่ล็อค)
=LOOKUP(F16,C16:C20,D16:D20)


LOOKUP อาเรย์ เช่น การดูว่าสิ่งที่เราเลือกมาหนึ่งอย่างนั้น เป็นของยี่ห้อใดหรืออยู่ในหนังสือใด

= LOOKUP(สิ่งที่อยากรู้หรือเลือก,ยี่ห้อทั้งหมดคลุมและต้องล็อค) เราก็ป้อนสูตรไปเพื่อดูว่า F25 ใช้ยี่ห้อใด

=LOOKUP (F25,C25:D29) F25 คือสิ่งที่เราอยากรู้


HLOOKUP (แถว) เช่นการหาพวกค่าคอมมิชชั่น
            =HLOOKUP(สิ่งที่เราเลือกไม่ล็อคใดๆ,คลุมยอดขายเป้าหมายและ%ทั้งหมดล็อคทั้งแถวทั้งคอลัมน์,แถวที่เราเลือกจากโจทย์ เช่น เลือกแถวสามก็พิมพ์3)
=HLOOKUP(C45,$C$34:$F$36,3) C45 คือสิ่งที่เราเลือกหรืออยากรู้

VLOOKUP(คอลัมน์)เช่นการดูใบPO ว่ารหัสนี้เจ้าหนี้ลูกหนี้เป็นใคร
=VLOOKUP(สิ่งที่เราเลือกเช่นรหัสเจ้าหนี้ลูกหนี้ไม่ล็อคใดๆ,คลุมรายละเอียดเจ้าหนี้ลูกหนี้ รหัสทั้งหมดล็อคทั้งแถวทั้งคอลัมน์,คอลัมน์ในโจทย์รายละเอียดที่เลือกที่เราเลือก เช่น เลือกแถวสามก็พิมพ์2)
=VLOOKUP(C58,$B$51:$C$54,2)



รายการจองที่นั่งโดยสาร VIP 24 ที่นั่ง
=IF(B5=24,"เต็ม","ว่าง")
ตัวอย่าง  ร้านค้าแห่งหนึ่งมีโปรโมชั่นเมื่อซื้อสินค้าที่มีราคาตั้งแต่ 5000 บาท ขึ้นไปจะลดให้ 20%
             และเมื่อซื้อสินค้าในร้านที่ราคาตั้งแต่ 1000 ถึง 4999 บาท จะลดให้ 15%
             แต่ถ้าซื้อน้อยกว่า 1000 บาท จะลดให้เพียง 10%
=IF(C22<1000,C22*$C$19,IF(C22<5000,C22*$C$18,IF(C22>=5000,C22*$C$17)))
ประกันสังคม
เงินเดือน
                                    750.00
 =IF(S3<15000,T3*5%,15000*5%)

เงินเดือน
เบี้ยเลี้ยง
ยอดขาย
ยอดคอมมิชชั่น
รายได้สุทธิ
             9,430.00
             2,500.00
         470,000.00
           23,500.00
           35,430.00
             7,500.00
             3,000.00
         510,000.00
           30,600.00
           41,100.00
             7,830.00
             3,000.00
         230,000.00
             6,900.00
           17,730.00
             8,045.00
             2,500.00
         140,000.00
                         -  
           10,545.00
             9,360.00
             2,500.00
         620,000.00
           37,200.00
           49,060.00
             7,200.00
             3,000.00
         160,000.00
                         -  
           10,200.00
             8,130.00
             3,000.00
         360,000.00
           14,400.00
           25,530.00

  =SUM(S20,T20,V20)
(ขั้นแรก)

การใช้ IF
วิธีใช้ Excel แบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยปัจจัยพื้นฐาน 2 ประการ ปัจจัยแรกซึ่งสำคัญที่สุด คือ วิธีใช้เครื่องหมาย $ ในการสร้างสูตร และต้องหาทางสร้างสูตรแบบ Smart Formula สูตรเดียวแต่ยืดหยุ่นให้ได้ ผู้ใช้ Excel ทุกระดับต้องหาทางสร้างงานโดยใช้เครื่องหมาย $ ในการสร้างสูตร และแทบจะหลีกเลี่ยงการใช้ $ ไม่ได้เลย

สำหรับผู้ใช้ Excel อีกระดับหนึ่ง โดยเฉพาะระดับบริหาร หัวหน้างาน ผู้ใช้ Excel เพื่อวางแผน ตัดสินใจ จะต้องฝึกหัดใช้สูตรประเภทเงื่อนไข ซึ่งสูตรพื้นฐานแรกสุดก็คือ สูตร IF เพื่อช่วยให้สามารถใช้สูตรคำนวณได้ยืดหยุ่นต่อการตัดสินใจ ไม่จำเป็นต้องสร้างสูตรใหม่ซ้ำๆกัน ทำให้ไม่เปลืองเซลล์ ไม่ต้องใช้ sheet หลายๆ sheet ไม่ต้องใช้ file เยอะแยะ และ file จะมีขนาดเล็กลง คำนวณให้ผลลัพธ์เร็วขึ้น
รูปแบบสูตร IF
=IF( เงื่อนไข, ค่ากรณีที่เงื่อนไขถูกต้อง, ค่ากรณีเงื่อนไขไม่ถูกต้อง)
เงื่อนไข เช่น ทดสอบว่า เซลล์นั้นเท่ากับเซลล์นี้หรือไม่ เซลล์โน้นเท่ากับค่านี้หรือไม่ จะใส่สูตรคำนวณเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขก็ได้ โดยผลลัพธ์ของเงื่อนไข จะคืนค่าออกมาเป็น TRUE หรือ FALSE อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
เครื่องหมายในส่วนของเงื่อนไข เช่น
=
>
<
>=
<=
<> หมายถึง ไม่เท่ากับ
นอกจากนี้ เงื่อนไขยังใช้สูตรประเภททดสอบ เช่น สูตรกลุ่ม IS ต่างๆ นำมาตรวจสอบให้ได้ค่า TRUE หรือ FALSE

ตัวอย่างสูตร
=IF(SaleChoice="n", 1000, 2000)
ถ้าเซลล์ชื่อ SaleChoice มีค่าเท่ากับตัวอักษร n ให้คืนค่าสูตรนี้เป็นตัวเลข 1000
แต่ถ้าไม่ได้มีค่าเป็นตัวอักษร n ให้คืนค่าสูตรนี้เป็นตัวเลข 2000
สังเกตว่า คำว่า SaleChoice ไม่อยู่ในเครื่องหมายคำพูด เนื่องจากเป็น Range Name ส่วนคำว่า n ต้องอยู่ในเครื่องหมายคำพูด เนื่องจากเป็น text (หากไม่ใส่ในเครื่องหมายคำพูด Excel จะพยายามหาชื่อที่ชื่อว่า n แต่หาไม่พบ ทำให้สูตร error)
ในระหว่างสร้างสูตร อย่าเว้นวรรค จนเมื่อสร้างสูตรเสร็จแล้ว Enter ไปแล้ว จึงค่อยกลับมากดปุ่ม F2 Edit สูตรใหม่ ให้จัดวรรคเพื่ออ่านสูตรแต่ละส่วนได้ชัดเจนขึ้น แล้วกด Enter รับการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าต้องการจัดแต่ละส่วนของสูตรให้แยกกันคนละบรรทัด ให้กดปุ่ม Alt+Enter

=IF(MyMargin>0, MyMargin*0.3, 0)
ถ้าเซลล์ชื่อ MyMargin มีค่ามากกว่า 0 ให้คืนค่าเป็นผลคำนวณเท่ากับ MyMargin*0.3
มิฉะนั้นให้คืนค่าเท่ากับ 0 สูตรนี้ใช้สำหรับคำนวณภาษีต่อเมื่อมีกำไร

=IF(ตัวหาร=0, 0, ตัวตั้ง/ตัวหาร)
ถ้าเซลล์ชื่อ ตัวหาร มีค่าเท่ากับ 0 ให้คืนค่า 0 มิฉะนั้นให้คำนวณอัตราส่วนของ ตัวตั้ง/ตัวหาร สูตรนี้ใช้สำหรับเซลล์คำนวณด้วยสูตรหาร ป้องกันไม่ให้สูตรหารคืนค่าเป็น #DIV/0! Error เมื่อตัวหารมีค่าเท่ากับ 0
ให้หลีกเลี่ยงการใช้ Null Text "" แทนเลข 0 เนื่องจาก Null Text ถือเป็นตัวอักษร ไม่สามารถนำค่าไปคำนวณต่อ
หากไม่ต้องการให้แสดงเลข 0 ให้ใช้ Format แบบ 0;; ช่วยแทน จะทำให้แสดงเป็นเซลล์ว่าง เมื่อผลลัพธ์มีค่าลบหรือ 0

=IF(ISERROR(สูตรคำนวณ),0,สูตรคำนวณ)
ถ้าสูตรคำนวณไม่ถูกต้อง ไม่ยอมให้คืนค่าเป็น Error ให้ใช้ค่า 0 แทน แต่ถ้าไม่ Error จึงจะคำนวณตามปกติ

หากต้องการนำสูตร IF มาซ้อนกันหลายๆชั้น โดยทั่วไปจะซ้อนกันได้เพียง 7 ชั้นเท่านั้น แต่เราสามารถเอาชนะข้อจำกัดนี้ โดยนำสูตร IF 7 ชั้นมาบวกกับสูตร IF 7 ชั้น หรือนำสูตร IF 7 ชั้นมาต่อกับสูตร IF 7 ชั้น โดยใช้เครื่องหมาย &
นอกจากนี้ ยังใช้วิธีตั้งชื่อสูตร แล้วนำชื่อสูตรมาซ้อนในอีกชื่อหนึ่งก็ได้